วันจันทร์ที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2557

แหล่งข้อมูล

แหล่งข้อมูล




http://www.sepkpt1.net/onechildok/Teach_2556/fill_1/67_%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%9E%E0%B8%93%E0%B8%B5%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B8%B0%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%92%E0%B8%99%E0%B8%98%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B9%80%E0%B8%8B%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%99.pdf


http://hilight.kapook.com/view/73561


http://www4.mns.ac.th/22141/?p=6


http://www.ceted.org/tutorceted/art.html


http://asean.sa.ku.ac.th/index.php?option=com_content&view=article&id=18:-10-&catid=5:2012-12-13-07-09-00&Itemid=17

ประเทศสิงคโปร์

ประเทศสิงคโปร์

จากโครงสร้างประชากร จะเห็นได้ว่าคนสิงคโปร์มีหลายเชื้อชาติ อีกทั้ง ส่วนใหญ่ยังยึดถือธรรมเนียมปฏิบัติดั้งเดิม ทาให้สิงคโปร์มีวัฒนธรรมหลากหลาย ทั้งทางด้านอาหาร การแต่งกาย ตลอดจนการเซ่นไหว้วิญญาณบรรพบุรุษ และ ความเชื่อในเรื่องเทพเจ้าที่แตกต่างกันไป ชาวจีนส่วนมากบูชา เจ้าแม่กวนอิม-ธิดา แห่งความสุข กวนอู-เทพเจ้าแห่งความยุติธรรม รวมถึงเทพเจ้าจีนองค์อื่นๆ ขณะที่ ชาวฮินดูบูชาเทพเจ้าแห่งดวงอาทิตย์ เป็นต้น

ชาวสิงคโปร์มีวัฒนธรรมหลากหลายแตกต่างกันไปตามเชื้อชาติ เทศกาลสาคัญของสิงคโปร์ ส่วนมากมีความเกี่ยวข้องกับความเชื่อทาง ศาสนา แต่ถึงจะแตกต่างกันในด้านเชื้อชาติและศาสนา แต่วัฒนธรรมความเป็นอยู่ก็ผสมผสานกันอย่างกลมกลืน โดยเทศกาลสาคัญส่วนมากมักเกี่ยวข้องกับพิธีกรรมทางศาสนา รวมถึงความเชื่อเรื่องเทพเจ้า เช่น






- เทศกาลตรุษจีน (Chinese New Year) ในเดือนกุมภาพันธ์ ชาวสิงคโปร์เชื้อสายจีนจะจัดงานเซ่นไหว้เทพเจ้าและงานรื่นเริงสนุกสนานอื่นๆ โดยรัฐบาล ห้างร้าน และบริษัทต่างๆ จะหยุดทาการเป็นเวลา 2 วัน แต่บางแห่ง อาจหยุดนานถึง 15 วัน






- เทศกาล Good Friday ของชาวคริสต์ในเดือนเมษายน จัดขึ้นเพื่อระลึกถึงการสละชีวิตของพระเยซูบนไม้กางเขน




- เทศกาลวิสาขบูชา (Vesak Day) ของชาวพุทธจัดขึ้นในเดือนพฤษภาคม เพื่อระลึกถึงการประสูติ ตรัสรู้ และปรินิพพานของพระพุทธเจ้า



- เทศกาล Hari Raya Puasa ในเดือนตุลาคม เป็น การเฉลิมฉลองของชาวมุสลิมหลังการสิ้นสุดพิธีถือศีลอดหรือรอมฎอน (Ramadan)





- เทศกาล Deepavali ในเดือนพฤศจิกายน เป็นเทศกาลแห่งแสงสว่างและเป็น งานขึ้นปีใหม่ของชาวฮินดูในสิงคโปร์
 

ชุดประจำชาติ

สิงคโปร์ไม่มีชุดประจำชาติเป็นของตนเอง เนื่องจากประเทศสิงคโปร์แบ่งออกเป็น 4 เชื้อชาติหลัก ๆ ได้แก่ จีน มาเลย์ อินเดีย และชาวยุโรป ซึ่งแต่ละเชื้อชาติก็มีชุดประจำชาติเป็นของตนเอง เช่น ผู้หญิงมลายูในสิงคโปร์ จะใส่ชุดเกบาย่า (Kebaya) ตัวเสื้อจะมีสีสันสดใส ปักฉลุเป็นลายลูกไม้ หากเป็นชาวจีน ก็จะสวมเสื้อแขนยาว คอจีน เสื้อผ้าหน้าซ่อนกระดุม สวมกางเกงขายาว โดยเสื้อจะใช้ผ้าสีเรียบหรือผ้าแพรจีนก็ได้

พาไปชม 10 ชุดประจำชาติอาเซียน


อาหารประจำชาติ

ลักซา เลอมัก (Luksa Lermak)
เป็นก๋วยเตี๋ยวต้มยาใส่กะทิ คล้ายๆข้าวซอยของไทย








ประเทศไทย

ประเทศไทย

ประเพณีไทย อารยธรรมไทย
ประเพณีไทยอันดีงามที่สืบทอดต่อกันมานั้น ล้วนแตกต่างกันไปตามความเชื่อ ความผูกพันของผู้คนต่อพุทธศาสนาและการดารงชีวิตที่สอดประสานกับฤดูกาลและธรรมชาติอย่างชาญฉลาดของชาวบ้านในแต่ละท้องถิ่นทั่วแผ่นดินไทย เช่น ภาคเหนือ ประเพณีบวชลูกแก้วของคนไตหรือชาวไทยใหญ่ที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน ภาคอีสาน ประเพณีบุญบั้งไฟของชาวจังหวัดยโสธร ภาคกลาง ประเพณีทำขวัญข้าวจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ภาคใต้ ประเพณีแห่ผ้าขึ้นธาตุของชาวจังหวัดนครศรีธรรมราช เป็น ต้น นอกจากนี้ ประเพณีอารยธรรมไทยยังนำมาซึ่งการท่องเทียว เป็นที่รู้จักและประทับใจแก่ชาติอื่นนับเป็นมรดกอันล้ำค่าที่เราคนไทยควรอนุรักษ์และสืบสานให้ยิ่งใหญ่ตลอดไป




ศิลปวัฒนธรรม ประเพณีและการดำรงชีวิตของคนไทยนั้น ได้รับอิทธิพลมาจาก มอญ ขอม อินเดีย จีนและชาติตะวันตก แต่ส่วนใหญ่จะผูกพันอยู่กับพุทธศาสนา
การไหว้
เป็นประเพณีการทักทายที่ถือเป็นเอกลักษณ์โดดเด่นของไทย โดยเป็นการแสดงถึงความมีสัมมาคารวะ และให้เกียรติกันและกัน นอกจากการทักทายแล้ว การไหว้ยังสื่อถึงการขอบคุณ ขอโทษ หรือกล่าวลาด้วย











โขน
เป็นนาฏศิลป์เก่าแก่ของไทย มีลักษณะสาคัญที่ผู้แสดงต้องสวมหัวโขนทั้งหมด ยกเว้นตัวนาง พระ และเทวดา ซึ่งแสดงโดยใช้ท่ารำและท่าทางประกอบทำนองเพลง ดาเนินเรื่องด้วยบทพากย์และบทเจรจา เรื่องที่นิยม นามาแสดงโขนคือ รามเกียรติ์
เทศกาลสงกรานต์ (Songkran Festival)

ประเพณีเก่าแก่ ถือเป็นการเฉลิมฉลองวันขึ้นปีใหม่ของไทยที่ยึดถือปฏิบัติกัน โดยจะมีการรดน้ำขอพรผู้ใหญ่ สรงน้าพระ ทาบุญตักบาตร ปล่อยนกปล่อยปลา ขนทรายเข้าวัด และก่อเจดีย์ทราย รวมทั้งมีการเล่นสาดน้ำ เพื่อความสนุกสนาน

 
 
 




ประเทศเวียดนาม

ประเทศเวียดนาม

ด้านศิลปวัฒนธรรมของเวียดนาม มีความแตกต่างกับศิลปวัฒนธรรมของไทยอย่างมาก ที่เป็น อย่างนี้เป็นเพราะเวียดนามถูกปกครองโดยประเทศจีนมาหลายครั้งหลายหน จนอาจเรียกได้ว่า อารยธรรม วัฒนธรรม ของเวียดนาม คือ วัฒนธรรมของประเทศจีน นั่นเอง โดยเฉพาะทางด้านศิลปของโบราณสถาน ต่าง ๆ อาทิ พระราชวัง วัด สุสาน ฯลฯ ซึ่งมีความคล้ายคลึงกันจนไม่สามารถแยกออกให้เห็นอย่าง เด่นชัด แม้ในช่วงหลังมานี้ เวียดนามอาจได้รับอิทธิพลจากประเทศฝรั่งเศล และญี่ปุ่นอยู่บ้าง แต่ใน ภาพรวมแล้วจะคล้ายคลึงกับประเทศจีน และมีหลักฐานให้เห็นอยู่ทั่วไปบริเวณสองข้างทางที่พวกเราผ่านไป เกือบทุกถนน

เวียดนามมีขนบธรรมเนียมประเพณี และวัฒนธรรมเก่าแก่ที่สั่งสมมาเป็นระยะเวลานาน และยังคงสืบทอดมาถึงปัจจุบัน และโดยที่เวียดนามมีความสัมพันธ์กับจีนมาก่อนการปฏิวัติระบบการปกครอง จึงทาให้ความเชื่อ ศิลปะ วิถีการดำรงชีวิต ตลอดจนประเพณีและวัฒนธรรมต่าง ๆ ของจีนมีอิทธิพลต่อเวียดนามด้วย รวมทั้งลัทธิขงจื๊อ
ที่ให้ความสำคัญต่อการนับถือเซ่นไหว้บรรพบุรุษ ลัทธิเต๋าที่สอนเรื่องความสมดุลของธรรมชาติ รวมไปถึงศาสนาพุทธนิกายมหายานที่สอนเรื่อง กรรมดีและกรรมชั่ว นอกจากนั้นเวียดนามยังเคยเป็นเมืองขึ้นของฝรั่งเศสมาก่อน ส่งผลให้วัฒนธรรม ประเพณีและการดำรงชีวิตของชาวเวียดตาม ได้รับอิทธิพลมาจากสองประเทศนี้ ดังเช่น







เทศกาลเต็ด (Tet) หรือ "เต็ดเหงียนดาน" (Tet Nguyen Dan)
หมายถึง เทศกาลรุ่งอรุณแรกของปี ถือเป็นเทศกาลทางศาสนาที่สาคัญที่สุด โดยจะเริ่มต้นขึ้น 1 สัปดาห์ก่อนจะถึงวันขึ้นปีใหม่ ตามจันทรคติคือ อยู่ระหว่างปลายเดือนมกราคมถึงต้นเดือนกุมภาพันธ์ ในวัน ขึ้น 15 ค่า ของวันที่ดวงอาทิตย์อยู่ไกลเส้นศูนย์สูตรมากที่สุดในฤดูหนาวกับวันที่ กลางวันยาวเท่ากับกลางคืน (วิษุวัต) ในฤดูใบไม้ผลิเป็นการเฉลิมฉลองความเชื่อในเทพเจ้า ลัทธิเต๋า ขงจื๊อ และศาสนาพุทธ รวมทั้งเป็น การแสดงความเคารพต่อบรรพบุรุษด้วย





เทศกาลฤดูใบไม้ร่วง
จัดขึ้นในวันขึ้น 15 ค่า เดือน 8 ของทุกปี ชาวบ้านจะประกวดทำขนมเปี๊ยะโก๋ญวนหรือบันตรังทู และมีการจัดขบวนเชิดมังกร เพื่อแสดงความเคารพต่อพระจันทร์





ชุดประจำชาติ

พาไปชม 10 ชุดประจำชาติอาเซียน

หญิง
สวมชุด "อ่าว หญ่าย" (Ao Dai) เป็นเสื้อคลุมยาวคอตั้ง กับกางเกงขายาว
ชาย
สวมชุดที่คล้ายกับผู้หญิง แต่มีกระดุมที่ตัวเสื้อ




อาหารประจำชาติ

แหนม (Nem) หรือ เปาะเปี๊ยะเวียดนาม
เป็นแผ่นแป้งข้าวเจ้าห่อเนื้อสัตว์รวมกับผักต่างๆ รับประทานคู่กับน้าจิ้มหวาน และเครื่องเคียงอื่นๆ
 

อกไม้ประจำชาติ

ดอกบัว

 

ประเทศฟิลิปปินส์

ประเทศฟิลิปปินส์

วัฒนธรรมของฟิลิปปินส์เป็นลักษณะวัฒนธรรมลูกประสมที่ได้รับอิทธิพลจากสเปน จีน เมกซิกัน อเมริกา อาหรับ และมาเลเซีย ในปัจจุบัน อิทธิพลหลักๆ ของฟิลิปปินส์น่าจะมีด้วยกันอย่างน้อย 3 สาย คือพวกสเปน จีน และอเมริกัน

วัฒนธรรมของฟิลิปปินส์เป็นการผสมผสานกันระหว่างตะวันตกและตะวันออก ซึ่งส่วนใหญ่ได้รับ อิทธิพลจากสเปน จีนและอเมริกัน
อิทธิพลจากสเปน : อิทธิพลวัฒนธรรมจากสเปนและเม็กซิโก เรียกว่า Hispanic Influences ที่มีมากว่า 300 ปี ในช่วงการปกครองแบบอาณานิคม จะเห็นได้จากความเชื่อ ในศาสนาคริสต์นิกายโรมันแคธอลิกงานประเพณีทางศาสนาในทุกปีฟิลิปปินส์ จะมารื่นเริงอันเรียกว่า Barrio Fiesta เป็นการฉลองนักบุญของเมืองหมู่บ้าน และเขตการปกครองต่างๆ มีการประกอบพิธีทางศาสนา การเดินขบวนในเมือง ฉลองนักบุญ การจุดพลุไฟ การประกวดความงามและการเต้นรำ รวมทั้งมี การตีไก่

อิทธิพลจากจีน : อิทธิพลทางวัฒนธรรมจากจีนจะพบได้จาก อาหารซึ่งอาหารของฟิลิปปินส์นั้นจัดได้ว่าคล้าย อาหารจีน มีรสชาติค่อนข้างไม่เผ็ดร้อนนัก ไม่เหมือนอาหารพื้นบ้านของไทย ฟิลิปปินส์นิยม กินก๋วยเตี๋ยวที่เป็นเส้น เรียกว่า Mami เช่นเดียว กับอาหารจานเนื้ออื่นๆ นอกจากนี้ ภาษาจีนคือภาษา ที่ชาวจีนในฟิลิปปินส์นิยมพูดกันในหมู่ชุมชนของตน

อิทธิพลจากอเมริกัน : ประเทศฟิลิปปินส์อยู่ภายใต้การปกครองของประเทศสหรัฐฯ 14 ปี แต่ได้รับอิทธิพลจากอเมริกันอย่างมาก ประเทศสหรัฐฯเป็นแหล่งที่คน มีการศึกษาในฟิลิปปินส์นิยมไปแสวงหาโชค และหางานทามากที่สุด อิทธิพลทางวัฒนธรรมจากอเมริกัน นับว่ามีการแพร่หลาย ดังเช่น การพูดและใช้ภาษาอังกฤษ ในด้านกีฬาจะเห็นได้จากกีฬาบาสเก็ตบอล (basketball) ซึ่งจัดเป็นกีฬายอดนิยมของชาติ ร้านอาหารจานด่วน (Fast Food) ก็เป็นอิทธิพลมาจากอเมริกัน ดังจะเห็นได้จากชาวฟิลิปปินส์จะนิยมชื่นชอบอาหารจานด่วนมากกว่าชาวไทย เครือร้านอาหารเหล่านี้ได้แก่ McDonald's, Pizza Hut, Burger King, KFC, และอื่นๆ

จากอิทธิพลของสเปน จีนและอเมริกา ส่งผลให้ฟิลิปปินส์มีเทศกาลสำคัญได้แก่


เทศกาลอาติ - อาติหาน (Ati-Atihan)
จัดขึ้นเพื่อราลึกและแสดงความเคารพต่อ "เอตาส (Aetas)" ชนเผ่าแรกที่มาตั้งรกรากอยู่บนเกาะแห่งหนึ่งในฟิลิปปินส์ และราลึกถึงพระเยซูคริสต์ในวัยเด็ก โดยจะแต่งตัวเลียนแบบชนเผ่าเอตาส แล้วออกมารา รื่นเริงบนท้องถนนในเมืองคาลิบู (Kalibu)



เทศกาลซินูล็อก (Sinulog)
งานนี้จะจัดขึ้นในวันอาทิตย์ที่ 3 ของเดือนมกราคมทุกปี เป็นงานที่จัดขึ้นเพื่อราลึกถึงนักบุญซานโต นินอย (Santo Nino) โดยจะ จัดแสดงดนตรีและมีขบวนพาเหรดแฟนซีทั่วเมืองเซบู
 

เทศกาลดินาญัง (Dinagyang)
งานนี้จัดขึนเพื่อรำลึกถึงนักบุญซานโต นินอย (Santo Nino) เช่นเดียวกันกับเทศกาลซินูล็อก แต่จะจัดขึ้นในสัปดาห์ที่ 4 ของเดือน มกราคมที่เมืองอิโลอิโย (Iloilo)
 
 
ชุดประจำชาติ

ญิง
นุ่งกระโปรงยาว และสวมเสื้อแขนสั้น จับจีบยกตั้งขึ้นเหนือไหล่ คล้ายปีกผีเสื้อ เรียกว่า บาลินตาวัก
ชาย
ใส่กางเกงขายาว และสวมเสื้อที่เรียกว่าบารองตากาล๊อก (Barong Tagalog)






อาหารประจำชาติ

อะโดโบ (Adobo)
มีต้นกำเนิดอยู่ทางตอนเหนือของฟิลิปปินส์ เป็นอาหารที่ปรุงด้วยเนื้อหมูหรือไก่ เคี่ยวให้สุกในซอสถั่วเหลือง น้ำส้มสายชู กระเทียมบด ใบกระวานและพริกไทยดำ มักมีสีน้ำตาลจากการทอดหรืออบบนกระทะ


ดอกไม้ประจำชาติ
 

ดอกพุดแก้ว (Sampagita jasmine)


ประเทศพม่า

ประเทศพม่า

สังคมพม่านับได้ว่าเป็นสังคมที่แทบหยุดกาลเวลา และหยุดความเปลี่ยนแปลงไว้ได้ในระดับหนึ่ง ทั้งนี้เพราะพม่าปิดประเทศมานานกว่า 3 ทศวรรษ ในขณะที่โลกได้พัฒนาด้านเทคโนโลยีไปมาก ในช่วงเวลานั้น สังคมพม่าอยู่ได้ด้วยการพึ่งพาทรัพยากรธรรมชาติและภูมิปัญญาท้องถิ่น เน้นความเป็นอยู่แบบพอมีพอกินและพึ่งพา

ตนเอง สิ่งจำเป็นจึงมีเพียงแค่ปัจจัยสี่ คือ อาหาร ที่อยู่อาศัย เครื่องนุ่งห่ม และยารักษาโรค อีกทั้งสิ่งยั่วเย้าในการบริโภคที่เกินความจาเป็นก็มีไม่มาก ชีวิตความเป็นอยู่ของชาวพม่าในช่วงเวลาก่อนหน้านี้จึงมีความเรียบง่าย และไม่มีเรื่องที่จะต้องจับจ่ายกันมากนัก

ชาวพม่าเป็นชนชาติที่ยึดมั่นในขนบธรรมเนียม ประเพณีและ วัฒนธรรมที่สั่งสมมาตั้งแต่อดีต การยึดมั่นในคุณค่าของอดีตเช่นนี้ ทำให้ชาวพม่ายังคงดาเนินชีวิต ตามแบบที่คนโบราณเคยยึดถือ โดยเฉพาะในเรื่องของจริยธรรม การนับถือศาสนา และการปฏิบัติตามประเพณีที่ได้รับการ สืบทอดต่อกันมา อันเนื่องมาจากศาสนาประจาชาติของประเทศคือ ศาสนาพุทธ ชาวพม่าได้ชื่อว่าเป็นหนึ่งในชนชาติ ที่ยึดมั่นในคาสอนของศาสนาพุทธอย่างเหนียวแน่น มากที่สุดชาติหนึ่งในโลก จึงมีการสร้างเจดีย์ พระธาตุ และศาสนสถานทั่วทั้งประเทศ เช่น เจดีย์ชเวดากอง เจดีย์ชเวมอว์ดอว์ เป็นต้น และประเพณีที่สาคัญจึงมักเกี่ยวข้องกับศาสนาพุทธ อาทิเช่น

ประเพณีปอยส่างลอง (Poy Sang Long)
หรืองานบวชลูกแก้ว เป็นงานบวชเณรที่สืบทอดกันมานาน และชาวเมียนมาร์ให้ความสาคัญมาก เพราะถือเป็นบุญอันยิ่งใหญ่ของครอบครัว
 
งานไหว้พุทธเจดีย์ประจำปี
ซึ่งแต่ละที่มักนิยมจัดในเดือนหลังออกพรรษา ถือเป็นงานเฉลิมฉลองที่สนุนสนานและได้ทำบุญสร้างกุศลด้วย
 
ชุดประจำชาติ
 
หญิง
สวมเสื้อข้างในเป็นคอกลม เอวสั้น โดยมีเสื้อนอกแขนกระบอกยาว ซึ่งนิยมใช้ผ้าเนื้อบางลายลูกไม้สีสดเข้ากับสีของ "ลองยี" หรือโสร่ง ที่ยาวจรดข้อเท้าที่ต้องเหน็บชายผ้าไว้ที่เอวให้แน่นโดยไม่ใช้เข็มขัด อาจมีผ้าบางคล้องไหล่และสวมรองเท้าแตะ
ชาย
สวมเสื้อคอกลม แขนสั้น ติดกระดุมป้ายมาดานข้างแบบจีนที่เรียกว่า "กุยตั๋ง" หรืออาจจะใส่เสื้อตัวยาวถึงสะโพก ติดกระดุมตรงกลางที่เรียกว่า "กุยเฮง" นุ่งโสร่งลองยี และมีผ้าแพรสีขาวหรือสีชมพูโพกศีรษะ และสวมรองเท้าแตะ





อาหารประจำชาติ

หล่าเพ็ด (Laphet)
เป็นอาหารว่างคล้ายกับยาเมี่ยงของไทย แต่เป็นใบชาหมัก ซึ่งต้องคลุกกินกับเครื่องเคียง เช่น มะพร้าวคั่ว กุ้งแห้ง กระเทียมเจียว และถั่วชนิดต่างๆ
 



 

ประเทศมาเลเซีย

ประเทศมาเลเซีย

ประเทศมาเลเซียเป็นหนึ่งในบรรดาประเทศที่ประกอบขึ้นด้วยหลากหลายชาติพันธุ์ ประเทศมาเลเซียมีดินแดนแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ส่วนแรกเป็นรัฐต่างๆจานวน 11 รัฐตั้งอยู่บนแหลมมลายู อีกส่วนหนึ่งมี 2 รัฐตั้งอยู่บนเกาะบอร์เนียว ทั้งสองส่วนนี้มีความแตกต่างทางชาติพันธุ์ รัฐที่ตั้งอยู่บนแหลมมลายูประกอบด้วยชาติพันธุ์ใหญ่ๆจานวน 3 ชาติพันธุ์ คือ มลายู จีน และอินเดีย ส่วนรัฐที่ตั้งอยู่บนเกาะบอร์เนียว มีจานวนชาติพันธุ์หลายสิบชนเผ่า

มาเลเซียประกอบด้วยชนจากหลายเผ่าพันธ์ุ (พหุสังคม) รวมกันอยู่ บนแหลมมลายูมากว่า 1,000 ปี ประกอบด้วยเชื้อชาติใหญ่ๆ 3 กลุ่ม คือ ชาวมลายู ชาวจีน และชาวอินเดีย อาศัยอยู่บนแหลมมลายู ส่วนชนพื้นเมืองอื่นๆ เช่น อิบัน (Ibans) ส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในรัฐซาราวัค และคาดาซัน (Kadazans) อาศัยอยู่ในรัฐซาบาห์ ด้วยประชากรหลากหลายเชื้อชาติภายในประเทศ ทาให้เกิดการหล่อหลอมของวัฒนธรรมและส่งผลต่อ การดารงชีวิตของชาวมาเลเซีย จึงเกิดประเพณีที่สาคัญมากมาย อาทิเช่น
การราซาบิน (Zapin)
เป็นการแสดงการฟ้อนรำหมู่ ซึ่งเป็นศิลปะพื้นเมืองของชาวมาเลเซีย โดยเป็นการฟ้อนรำที่ได้รับอิทธพลมาจาก ดินแดนอาระเบีย โดยมีผู้แสดงเป็นหญิง ชาย จานวน 6 คู่ เต้นตามจังหวะของกีตาร์แบบอาระเบียน และ กลอง เล็กสองหน้าที่บรรเลงจากช้าไปเร็ว



เทศกาลทาเดา คาอามาตัน (Tadau Kaamatan)
เป็นเทศกาลประจำปีในรัฐซาบาห์ จัดในช่วงสิ้นเดือนพฤษภาคม ซึ่งเป็นช่วงสิ้นสุดของฤดูการเก็บเกี่ยวข้าวและเริ่มต้นฤดูกาลใหม่ โดยจะมีพิธีกรรมตามความเชื่อในการทำเกษตร และมีการแสดงระบำพื้นเมือง และขับร้องบทเพลงท้องถิ่นเพื่อเฉลิมฉลองอีกด้วย





ชุดประจำชาติ
หญิง
สวมเสื้อ "บาราจูกุง" ซึ่งเป็นเสื้อแขนยาว ที่มีขนาดตัวยาวถึงเข่า หรือเสื้อ "คะบาย่า" ซึ่งเป็นเสื้อแขนยาวสีสันสดในและมีฉลุดอกไม้ ขนาดพอดีตัวปิดถึงสะโพก และนุ่งกับโสร่งที่มีลวดลายเข้ากับเสื้อ บางครั้งมีผ้ากคล้องคอ และสวมรองเท้าแตะ หรือร้องเท้าส้นสูงแบบสากล
ชาย
สวมเสื้อแขนยาวแบบคอปิดติดกระดุม และนุ่งกางเกงขายาวสีเดียวกับเสื้อ ที่เรียกว่าชุด "บาจูมลายู" ซึ่งมีผ้าคาดทับเอว และสวมหมวกแบบมุสลิมี่เรียกว่า "ซอเกาะ" สวมรองเท้าหนังแบบสากล

อาหารประจำชาติ

นาซิ เลอมัก (Nasi Lemak)
เป็นข้าวผัดกับกะทิและสมุนไพร พร้อมกับปลากะตักทอด แตงกวาหั่น ไข่ต้มสุก และถั่วอบ นิยมรับประทานเป็นอาหารเช้า