ประเทศลาว
พิธีกรรมและความเชื่อชาวลาวครั่ง มีความเชื่อในเรื่องผีบรรพบุรุษเป็นอย่างมาก การนับถือผีของชาวลาวครั่งเป็นการถือผีตามบรรพบุรุษคือผีเจ้านายและผีเทวดา การนับถือมีอิทธิพลต่อชาวลาวครั่งมาก แม้แต่ในแง่ของการดำเนินชีวิต ไม่ว่าจะเป็นการประกอบพิธีกรรมหรือการดำรงชีวิตประจำวัน ก็จะต้องไปข้องเกี่ยวกับผีของบรรพบุรุษเนื่องจากอาชีพหลักของชาวลาวครั่ง คือการทำนา จึงมีประเพณีความเชื่อ ที่ถือปฏิบัติกันมาเพื่อความอุดมสมบูรณ์ คือ พิธีบูชาเซ่นสรวงแม่ธรณี และแม่โพสพ ก่อนหว่านข้าวเป็นการบอกกล่าวแม่ธรณีโดยจัดวางเครื่องเซ่นไว้บนพื้นดินบริเวณหัวคันนาและกล่าวแก่แม่ธรณีว่า จะทานาแล้วขอให้คนและ ควายอยู่ดีมีสุขสบาย คราดไถอย่าให้หักบ่ได้มาแย่งดินขอเพียงแค่ทากิน พิธีนี้ภาษาถิ่นเรียกว่า พิธี แฮกนา พิธีที่เกี่ยวกับความเชื่ออีกวิธีหนึ่งคือ พิธีศพ เมื่อนาศพผู้ตายใส่ลงหีบ ถ้าเป็นชายก็จะใช้ผ้าขาวม้าของผู้ตายคลุมทับผ้าขาวบนฝาหีบ ถ้าเป็นหญิงก็จะคลุมหีบด้วยสไบของผู้ตาย และจะเผาเครื่องนุ่งห่มต่างๆของผู้ตาย เช่น ผ้าขาวม้าไหม โสร่งไหมผ้าพุ่งไหม ผ้าม่วงโรง หรือผ้าซิ่นมัดหมี่ ผ้าสไบ เสื้อฯลฯ เผาไปด้วย ชาวลาวส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธนิกายเถรวาท ซึ่งเป็นศาสนา ประจำชาติ (ร้อยละ 60 ของชาวลาวทั้งหมด) ควบคู่ไปกับลัทธินับถือ ผีบรรพบุรุษของชนชาติส่วนน้อยในแถบภูเขาสูง ส่วนชาวลาวที่นับถือศาสนา คริสต์และศาสนาอิสลามมีจานวนที่ค่อนข้างน้อยมาก โดยศาสนาคริสต์ส่วน มากจะมีผู้นับถือเป็นกลุ่มชาวเวียดนามอพยพและชาวลาวเชื้อสายเวียดนาม ส่วนศาสนาอิสลามพบว่ามีการนับถือในหมู่ชนชาติส่วนน้อย โดยเป็นกลุ่มจีนฮ่อ ที่อาศัยตามชายแดนด้านติดกับประเทศพม่า และมีชุมชนมุสลิมที่มีเชื้อสาย เอเชียใต้ และจาม ในเวียงจันทน์
ด้านวัฒนธรรม มีความคล้ายคลึงกับคนภาคอีสานของไทยเป็นอย่างมาก ยังมีคากล่าว ที่ว่า “มีลาวอยู่แห่งใด มีมัดหมี่แลลายจกอยู่ที่นั้น” ลาวมีประเพณีทาง พระพุทธศาสนาและอื่นๆ เช่น วันมาฆบูชา วันสงกรานต์ วันออกพรรษา บุญเข้าประดับดิน บุญเข้าฉลาก บุญส่วงเฮือ (แข่งเรือ) บุญธาตุหลวง เวียงจันทน์ ในเดือน 12 เป็นต้น พุทธศาสนาแบบเถรวาท นับเป็นแบบแผนหลักของวัฒนธรรมลาว ซึ่งปรากฏให้เห็นทั่วประเทศ ทั้งในด้านภาษา และศิลปะ วรรณคดี ศิลปะการแสดง ฯลฯ
สาหรับดนตรีลาวนั้นมี "แคน" ซึ่งเป็นเครื่องดนตรีประจำชาติ วงดนตรีของลาวก็คือ วงหมอลำ มีหมอลำ และหมอแคน ท่วงทำนองของการขับลำจะแตกต่างกันไป ตามท้องถิ่น และมีรำวงบัดสลบ (Paslop Dance) ซึ่งเป็นการเต้น ท่าตามจังหวะเพลง โดยจะเต้นพร้อม กันไปอย่างเป็นระเบียบ ถือเป็นการร่วมสนุกกันของชาวลาวใน งานมงคลต่างๆ
การตักบาตรข้าวเหนียว
ถือเป็นจุดเด่นของเมืองหลวงพระบาง ซึ่งโดยปกติแล้วนิยมใส่บาตรด้วยข้าวเหนียวเพียงอย่างเดียว เพราะเมื่อถึงเวลาฉัน ชาวบ้านจะยกสารับกับข้าวไปถวายที่วัด เรียกว่า "ถวายจังหัน" โดยเวลาใส่บาตร จะนั่งคุกเข่าและผู้หญิงต้องนุ่งซิ่น ส่วนผู้ชายนุ่งกางเกงขายาว และมีผ้าพาดไหล่ไว้สาหรับเป็นผ้ากราบ พระเหมือนกัน
ชุดประจำชาติ
หญิง
นุ่งผ้าซิ่นทอลาย ใส่เสื้อแขนยาว ทรงกระบอก และมีสไบเฉียงพาดไหล่
ชาย
นุ่งโจงกระเบน และสวมเสื้อชั้นนอก กระดุมเจ็ดเม็ด
อาหารประจำชาติ
ซุปไก่ (Chicken Soup)
เป็นอาหารยอดนิยม มีส่วนผสมสาคัญได้แก่ ตะไคร้ ใบสะระหน่ กระเทียม หอมแดง รวมถึงรสชาตเปรี้ยวๆ เผ็ดๆ จากมะนาวและพริก รับประทานร้อนๆ กับข้าวเหนียว
ดอกไม้ประจำชาติ
ดอกจำปาลาว (Champa) หรือดอกลีลาวดี
ประเพณีลาว – บุญออกพรรษา
ตอบลบคำว่า ออกพรรษานั้นได้แก่ การอนุญาติให้พระภิกษุสงฆ์ ออกจากเขตจำกัด หลังจากการเข้าจำพรรษาครบ 3 เดือน เพื่อออกไปปฏิบัติหน้าที่ที่สถานที่อื่นได้ เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า การออกจากฤดูฝน เมื่อถึงวันขึ้น 14 คํ่า ของเดือน 11 ชาวพุทธทั้งหลายพากันจัดหาวัตถุทานต่างๆ มาไว้ถวายทาน ตามกำลังศรัทธาของตน เมื่อถึงวันเพ็ญ 15 คํ่า เดือน 11 ตอนเช้ามวลชนชาวพุทธก็มารวมกันถวายของทานที่ได้ตระเตรียมไว้ด้วยการตักบาตรอยู่ในวัดพร้อมทั้งถวายผ้าจีวร หรือ ผ้าจำนำพรรษาให้แก่พระภิกษุสงฆ์
https://laosculture.wordpress.com/