ประเทศอินโดนีเซีย
- กลุ่มแรก เป็นกลุ่มชนที่อาศัยอยู่ในเกาะชวา และบาหลี ผู้คนที่อยู่ ในแถบนี้จะยึดมั่นอยู่ในแนวทางของศาสนาฮินดู และศาสนาพุทธ มีวัฒนธรรม เน้นหนักในเรื่องคุณค่าของจิตใจและสังคม ก่อให้เกิดการพัฒนาศิลปะอย่าง มากมาย โดยเฉพาะนาฏศิลป์และดุริยางคศิลป์ในการดำเนินชีวิตประจาวัน ประชากรจะประพฤติตามหลักจริยธรรมมีการเคารพต่อบุคคลตามฐานะของ บุคคลนั้นๆ
ประเทศอินโดนีเซีย มีการกาหนดกฎหมายประเพณีในสังคมตามความเชื่อในศาสนา ซึ่งจะต้องปฏิบัติอย่างเคร่งครัด และสืบทอดกันมานานแล้ว มีสาระที่สาคัญคือ ความผูกพันระหว่างสามีกับภรรยา พ่อแม่กับลูก และพลเมืองต่อสังคมที่ตนอยู่ โดยยึดหลักการปฏิบัติที่เรียกเป็นภาษาอินโดนีเซียว่า "โกตองโรยอง" คือการ ช่วยเหลือพึ่งพาอาศัยกันในงานต่างๆ เช่น การเพาะปลูก การเก็บเกี่ยว การแต่งงาน การสร้างบ้านที่อยู่อาศัย การใช้ที่ดินร่วมกันภายใต้ข้อตกลงและ ข้อแม้พิเศษ
วายัง กูลิต (Wayang Kulit)
เป็นการแสดงเชิดหุ่นเงาที่เป็นเอกลักษณ์ของอินโดนีเซีย และถือเป็นศิลปะการแสดงที่งดงามและวิจิตรกว่าการ แสดงชนิดอื่น เพราะรวมศิลปะหลายชนิดไว้ด้วยกัน โดยฉบับดั้งเดิมใช้หุ่นเชิดที่ทาด้วยหนังสัตว์ นิยมใช้วงดนตรี พื้นบ้านบรรเลงขณะแสดง
ระบำบารอง (Barong Dance)
ละครพื้นเมืองดั้งเดิมของเกาะบาหลี มีการใช้หน้ากากและเชิดหุ่นเป็นตัวละคร โดยมีการเล่นดนตรีสดประกอบการแสดง เป็นเรื่องราวของการต่อสู้กันของ บารอง คนครึ่งสิงห์ ซึ่งเป็นตัวแทนฝ่ยความดีกับรังดา พ่อมดหมอผีตัวแทนฝ่ายอธรรม โดยฝ่ายธรรมะจะได้รับชัยชนะในที่สุด
ชุดประจำชาติ
หญิง
สวมเสื้อ "คะบาย่า" เสื้อแขนยาว คอแหลม ผ่าหน้าอกเข้ารูปยาวปิดสะโพก ปักฉลุลายลูกไม้ เข้ากับผ้าโสร่งที่เป็นผ้าพื้นเมืองที่เรยกว่า "ปาเต๊ะ" หรือ "บาติก" โดยมีผ้าคล้องคอยาว และสวมรองเท้าแตะหรือส้นสูงแบบสากล
ชาย
สวมเสื้อคอปิด สวมหมวกคล้ายหมวกหนีบ นุ่งกางเกงขายาว หรือโสร่งสีและลงดลายเข้ากับหมวกสวมรองเท้าแตะหรือรองเท้าหุ้มส้น หากเข้าพิธีสาคัญ จะเหน็บกริชด้วย ซึ่งวิธีแต่งกายจะแตกต่างกันไปตามแต่ละเกาะ อาหารประจำชาติ
กาโด กาโด (Gado Gado)
เป็นอาหารที่ประกอบด้วย ผักและธัญพืช ถั่วต่างๆ เต้าหู้ ไข่ต้ม ข้าวเกรียบกุ้ง รบประทานคู่กับซอสถั่วคล้ายกับซอสสะเต๊ะ (คล้ายกับสลัดแขกของไทย)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น